อย่างที่ทุกคนทราบว่า การเทรด Bitcoin มีประโยชน์และเพิ่มผลกำไรต่อผู้เทรดมากมาย แต่ในทางกลับกัน มันก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน! เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าข้อเสียมันมีแบบไหนบ้าง
สารบัญ
ราคาตลาดผันผวนอย่างมาก (มีความเสี่ยงว่าราคาจะตก)
ราคาตลาดของบิตคอยน์ที่เคยพุ่งทะลุ 2 ล้านเยน (ประมาณ 5.7 แสนบาท) อยู่ช่วงหนึ่งเมื่อตอนต้นปี 2018 ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมามูลค่าของมันได้เคลื่อนตัวลงมาอยู่ในช่วงประมาณ 8 แสนเยน (ประมาณ 2.3 แสนบาท)
จริงอยู่ที่ว่า หากเทียบกับเมื่อหลายปีก่อนแล้ว มูลค่าในตอนนี้ก็นับว่าสูงเอาการอยู่ แต่คนที่ซื้อบิตคอยน์ในช่วงปลายปี 2017 – ต้นปี 2018 ก็นับว่าขาดทุนไปมหาศาล
ความผันผวนของราคาตลาดของบิตคอยน์ที่มีมากกว่า FX หรือการลงทุนในหุ้นนั้น ในแง่หนึ่งก็นับว่าเป็นเสน่ห์ชวนหลงใหลที่สุดของการลงทุนในบิตคอยน์ แต่ในขณะเดียวกันก็นับเป็นความเสี่ยงอย่างที่สุดเช่นกัน
ไม่มีหลักประกันมูลค่า
เพราะบิตคอยน์ไม่มีผู้ควบคุม ทำให้ทั้งรัฐบาลรวมถึงธนาคารกลางไม่รับรองความมีมูลค่าของบิตคอยน์
เรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นเหรียญอีกด้านหนึ่งของข้อดีที่ว่าด้วยเรื่อง Risk Hedge (การหลีกเลี่ยงอันตรายในการขาดทุนจากความผันผวนของตลาด) ของสินทรัพย์
ถ้าหากบิตคอยน์ศูนย์เสียความเชื่อถือในฐานะเงินตราจากการเปลี่ยนแปลงระบบ ก็มีความเป็นไปได้ที่มูลค่าของมันจะกลายเป็นศูนย์ไปในทันที
ปัจจุบันบิตคอยน์กำลังเผชิญปัญหา Scalability (สามารถในการรองรับการขยายตัว เพื่อรองรับปริมาณของธุรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น) ไม่ว่าจะเป็น ความล่าช้าในการซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือค่าบริการที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็ได้มีการถกเถียงกันถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายในคอมมูนิตี้มาอย่างต่อเนื่อง
แต่ทว่าผลได้ผลเสียของนักพัฒนา, บริษัท Mining, สถาบันซื้อขายและนักลงทุนก็ใช่ว่าจะพ้องต้องกันเสมอไป ที่ผ่านมาได้มีการทำ Hard Fork (การที่ blockchain หนึ่งมีการแยกตัวออกมาเป็นอีก blockchain หนึ่งอย่างถาวร ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนกฎกลางหรือการแก้ไขค่าต่าง ๆ ให้ต่างไปจากเดิม) มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการทำ Hard Fork ต่อไปเรื่อย ๆ มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงว่าจะเกิดการสูญเสียความน่าเชื่อถือที่มีต่อบิตคอยน์ไปมากเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าของบิตคอยน์ลดลง
MEMO
เงินเสมือนจริงที่เกิดจากการทำ Hard Fork จากบิตคอยน์ มีหลายสกุล อย่างเช่น Bitcoin Cash, Bitcoin Gold, Bitcoin Diamond, Bitcoin Candy, eBitcoin เป็นต้น
การล้มละลายของสถาบันรับแลกเปลี่ยน• ความเสี่ยงทางด้านการโจรกรรม
ในความเป็นจริง ก็มีกรณีที่สถาบันรับแลกเปลี่ยนล้มละลายจากสถานการณ์ทางธุรกิจที่เลวร้ายลงอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นบิตคอยน์ที่ฝากไว้ทั้งหมดก็จะหายวับไป
นอกจากนี้ แม้ว่าตัวบิตคอยน์เองจะได้รับความเชื่อถือว่ามีความปลอดภัย แต่ตัวระบบของสถาบันรับแลกเปลี่ยนที่คอยจัดการบิตคอยน์นั้นกลับยังไม่สมบูรณ์
ในประเทศญี่ปุ่นเองก็เคยเกิดคดีปล้นเงินเสมือนจริงสกุล NEM จากการแฮคบริษัท Coin Check เป็นจำนวนเงินมูลค่าเทียบเท่าประมาณ 5.8 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท) บิตคอยน์เป็นข้อมูลดิจิตอลจึงตกเป็นเป้าหมายของแฮคเกอร์เป็นธรรมดา
ดังนั้นตัวผู้ลงทุนเองจึงความมีมาตราการสำหรับป้องกัน อย่างเช่นการจัดการโดยใช้ Cold Wallet
MEMO
Cold Wallet เป็น Wallet ที่ตัดขาดโดยสมบูรณ์จากโลกอินเตอร์เน็ต หากใช้ Cold Wallet ก็จะทำให้ความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมเงินเสมือนจริงด้วยการเข้าถึงที่ไม่ถูกต้องหมดไปได้ โดยในปัจจุบันนิยมใช้ “Hardware Wallet” ซึ่งจะจัดการ Secret Key โดยการใช้ดีไวซ์เฉพาะในทางตรงข้าม Wallet ที่ถูกปล่อยให้อยู่ในสถานะเชื่อมต่อเน็ตอยู่ตลอดเวลา จะถูกเรียกว่า Hot Wallet
แน่นอนว่าการซื้อบิตคอยน์หรือเงินเสมือนจริงเกือบทั้งหมดจะเป็นการทำโดยอาศัยสถาบันรับแลกเปลี่ยนเงินเสมือนจริง ดังนั้นจึงควรเช็คเงินทุนขององค์กรบริหารให้ดี ควรจะเลือกซื้อจากสถาบันซื้อขายที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินแล้วเท่านั้น
ที่มา: zero kara bitcoin
ผู้เขียน: Kumo